วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

ทา

                สารสนเทศทางการพยาบาล ( Nursing  Information )  คือ การใช้ความรู้ทางคอมพิวเตอร์  ความรู้ทางด้านสารสนเทศ  และความรู้ทางด้านการพยาบาล  เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติพยาบาล  การบริการสุขภาพ  และการบริหารการพยาบาล  สารสนเทศทางการพยาบาลต้องมีลักษณะสำคัญ  คือ เนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับการพยาบาล ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการช่วยจัดการข้อมูลสื่อสาร  หรือการดัดแปลงข้อมูลทางการพยาบาล

ประโยชน์ของการใช้สารสนเทศทางการพยาบาลในการบริหาร
                นักทฤษฎีบริหารสมัยใหม่ส่วนมากเชื่อว่า  การบริหารจัดการนั้นจะขาดสารสนเทศไม่ได้  เพราะว่าการวินิจฉัยสั่งการ  หรือการบริหารจะต้องอาศัยพื้นฐานของเหตุผล  ซึ่งได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้  หรือสารสนเทศที่มีอยู่  ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ในลักษณะของสารสนเทศ  เพื่อใช้ประกอบการวางแผนการ บริหาร  การวินิจฉัยสั่งการ  การควบคุมกำกับการ  การติดตามและการประเมินผล  ผู้บริหารที่มุ่งประสิทธิภาพจะต้องจัดให้มีกระบวนการวางแผน  การกำหนดวิเคราะห์  การวางรูปแบบระบบสารสนเทศในองค์กรที่ตนรับผิดชอบอย่างเหมาะสม

คุณลักษณะที่ดีของระบบสารสนเทศในการบริหารการพยาบาล
ระบบสารสนเทศในการบริหารที่ดี  ควรมีลักษณะ  10 ประการ  คือ            
            1.พึงระลึกว่าสารสนเทศมิใช่ข้อมูล จึงควรทำการเก็บรวบรวม  วิเคราะห์ข้อมูล และเสนอในลักษณะของสารสนเทศเพื่อสามารถใช้ประโยชน์ได้จริงในการบริหาร
            2. ความเกี่ยวพันของสารสนเทศ ( Relevance ) สารสนเทศที่จะรวบรวม ควรเป็นสารสนเทศที่เกี่ยวพันกัน หรือสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ที่นำไปใช้            
           3. ความไวของสารสนเทศ ( Sensitive ) สารสนเทศที่จะเป็นประโยชน์ต่อการบริหาร จะต้องมีความไว สามารถบ่งบอกหรือแสดงความหมายในสิ่งที่ต้องการทราบได้ถูกต้อง            
           4. ความถูกต้องเที่ยงตรงของสารสนเทศ ( Unbias ) สารสนเทศที่ได้จากการเก็บรวบรวม การวิเคราะห์ และการนำเสนอ ควรถูกต้องและเที่ยงตรงต่อความเป็นจริง มิใช่เพียงเพื่อให้ผู้บริหารพึงพอใจ            
           5. ลักษณะเบ็ดเสร็จของสารสนเทศ หรือการนำเสนอสารสนเทศ ควรอยู่ในลักษณะที่รวบรวมสิ่งสำคัญๆ สามารถตรวจสอบหรือพิจารณาโดยผู้บริหารได้โดยง่ายหรือง่ายต่อความเข้าใจ           
           6. เวลาที่เหมาะสมของสารสนเทศ  สารสนเทศที่ได้รับการเก็บรวบรวม  วิเคราะห์และจัดเตรียม  จะต้องทันเวลาในการที่จะต้องใช้งาน            
            7. สารสนเทศเพื่อเน้นการดำเนินการ ( Action Oriented ) สารสนเทศควรจะได้รับการวิเคราะห์  ในลักษณะที่สนับสนุนกระบวนการบริหาร  การวินิจฉัยสั่งการหรือการดำเนินการต่างๆในอนาคต                        8. รูปแบบลักษณะเดียวกันของสารสนเทศ ( Uniformity ) สารสนเทศที่ดีควรจะมีลักษณะที่คล้ายคลึง มีรูปแบบเดียวกัน  สามารถเปรียบเทียบใช้สารสนเทศร่วมกันได้อย่างมีมาตรฐานเดียวกัน            
           9. สารสนเทศเพื่อเป้าหมายการปฏิบัติการ ( Performance Target ) สารสนเทศควรได้รับการกำหนด  และเก็บรวบรวมโดยอาศัยวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้เป็นพื้นฐาน            
          10. ความคุ้มค่าของสารสนเทศ ( Cost  Effectiveness ) ผลประโยชน์ที่ได้จากการรวบรวม การวิเคราะห์และการนำเสนอสารสนเทศควรมีมากกว่าต้นทุนที่ใช้

แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารการพยาบาล
                   1.  นำมาใช้ในการจัดคน  จัดเวร ( Staffing  and  Scheduling )  โดยอาศัยข้อมูลที่บันทึกไว้เกี่ยวกับผู้ป่วย  และบุคลากรพยาบาลที่สามารถแบ่งประเภทผู้ป่วยได้  และมีกิจกรรมการพยาบาลที่ได้ปฏิบัติแล้วปรากฏในคอมพิวเตอร์  ก็จะสามารถคาดคะเนความต้องการบุคลากรพยาบาลได้  และจัดคนในแต่ละเวรได้โดยเร็วและถูกต้องที่สุดด้วย
                   2.  นำมาใช้ในการประเมินความสามารถในการทำงาน  ( Performance  Evaluation )  โดยใช้ข้อมูลบุคลากร และการปฏิบัติงานประจำวันเป็นรากฐาน
                   3.  นำมาใช้ในการออกแบบโครงการ  จัดตารางการทำงาน  และประเมินผลงาน
                   4.  นำมาใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจ  ในการบริหารเพื่อการหาผลผลิต  เพื่อการกำหนดรูปแบบและวิเคราะห์ประสิทธิผลของการบริหาร  การทำนาย  การพยากรณ์ ในอนาคต  การกำหนดแนวโน้มของการดำเนินการ  การประเมินโครงการ  ซึ่งจะเรียกว่า  ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ
                   5.  นำมาใช้ในการวางแผนการเงิน  และการจัดการ
                   6.  นำมาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์

                คือการร่วมวางแผนระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายเทคนิค  เนื่องจากการจัดทำระบบสารสนเทศจะเป็นการกำหนดจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้  ต้องมีการร่วมมือกัน  เพราะฝ่านบริหารจะทราบกลยุทธ์  วัตถุประสงค์และเป้าหมายในการพัฒนาระบบสารสนเทศที่มีประโยชน์สำหรับองค์กรได้ดี  ในขณะที่ความสามารถทางด้านเทคนิคอาจจะไม่เด่นชัดนัก  ส่วนฝ่ายเทคนิคจะมีความสามารถและความชำนาญทางด้านการสร้างความเป็นเลิศทางเทคนิคแต่ไม่มีความชำนาญทางด้านการบริหารและขาดความรู้ที่เฉพาะทางด้านองค์กรนั้นๆ  ดังนั้นทั้งสองฝ่ายต้องมีการประสานงานกันอย่างดี  เพื่อทำการพัฒนาและจัดทำระบบสารสนเทศที่ดีขึ้น
แนวคิดของระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการทางการพยาบาล

                การทำงานในแต่ละองค์กร  แบ่งออกเป็นหลายระดับดังนี้


วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

วันนี้เรามาหัดใช้ e-book กันนะค่ะ แต่ก่อนอื่นเรามารู้จัก e-book กันก่อนนะค่ะ
        e-Book คือ หนังสือหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผู้อ่านสามารถอ่านผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆได้ สำหรับหนังสือ หรือ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์นี้ จะมีความหมายรวมถึงเนื้อหาที่ถูกดัดแปลง อยู่ในรูปแบบที่สามารถแสดงผลออกมาได้ โดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์แต่ก็ให้มีลักษณะการนำเสนอที่สอดคล้องและคล้ายคลึงกับการอ่านหนังสือ ทั่วๆไปในชีวิตประจำวัน แต่จะมีลักษณะพิเศษ คือ สะดวกและรวดเร็ว ในการค้นหา และผู้อ่านสามารถอ่าน พร้อมๆ กันได้โดยไม่ต้องรอให้อีกฝ่ายส่งคืนห้องสมุด เช่นเดียวกับหนังสือในห้องสมุดทั่วๆ ไป 

e-Book มีประโยชน์อย่างไร ?
สำหรับผู้อ่าน
1. ขั้นตอนง่ายในการอ่าน ค้นหา หนังสือ
2. ไม่เปลืองที่ในการเก็บหนังสือ
3. อ่านหนังสือได้จากทุกที่ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

สำหรับห้องสมุด
1. สะดวกในการให้บริการหนังสือ
2. ไม่ต้องใช้สถานที่มากมายในการเก็บหนังสือ ไม่เสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
3. ลดงานที่เกิดจากการซ่อม เก็บ จัดเรียง หนังสือ
4. ไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมาจากการจ้างพนักงานมาดูแลและซ่อมแซมหนังสือ
5. มีรายงานแสดงการเข้ามาอ่านหนังสือ

สำหรับสำนักพิมพ์และผู้เขียน
1. ลดขั้นตอนในการจัดทำหนังสือ
2. ลดค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงในการจัดพิมพ์หนังสือ
3. ลดค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่ายผ่านช่องทางอื่นๆ
4. เพิ่มช่องทางในการจำหน่ายหนังสือ
5. เพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์ตรงถึงผู้อ่าน 

    เมื่อรู้จัก e-book ไปแล้วคราวนี้เราก็เริ่มใช้งานกันเลยดีกว่า โดยเข้าไปที่ http://www.ilovelibrary.com/ แล้วทำตามขั้นตอนเล้ยยย

1.เข้าเว็บไซต์ 2.เข้าสู่หน้าหลัก

    

3.เข้าสู่ระบบ

        

4.กดหารายการหนังสือที่ต้องการ

    
                              
5.เมื่อได้หนังสือแล้วกดเลือกที่รูปหนังสือ

     


6.กดที่ปุ่ม "Add to My Shelf" เพื่อเก็บรายการหนังสือไว้

    

7.ทำการลงโปรแกรมอ่านหนังสือ

    
  
8.กด "เข้าใช้งาน" เพื่อดูรายการหนังสือที่ได้เลือกไว้

    

9.จะเห็นหนังสือที่เราได้เลือกไว้กดที่รูปหนังสือ เพื่อโหลดอ่าน

    

10.เราจะสามารถอ่านหนังได้อย่างคมชัดและหากต้องการปิิดหนังสือก็สามารถกดปุ่มทางบนขวามือได้เลย


    

11.เมนูข้างๆจะเป็นกระดาษ post it ที่เราสามารถคลิกเพื่อแปะไว้แต่ละหน้ามีหลายสีให้เลือก

เท่านี้เราก็สามารถใช้งานe-book ได้ง่ายๆแล้ว ลองนำไปใช้งานกันได้นะค่ะ



วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สวนสุนันทา โดยกุหลาบทิพย์ 034

วัติป็
              ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนสุนันทา ได้เป็นที่ประทับของพระมเหสี พระราชธิดาและเจ้าจอมมารดาในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 32 ตำหนัก รวมทั้งอาคารที่พักของบรรดาข้าราชบริพาร
              โดยมีพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา ประทับ ณ ตำหนักสายสุทธานพดล ตั้งแต่ พ.ศ. 2467 ปัจจุบันมีสภาพใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุดอยู่ 6 ตำหนัก เนื่องจากมีผู้นำบุตรีและหลานของตน มาถวายตัวต่อพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฎปิยมหาราชปดิวรัดา เป็นจำนวนมาก พระวิมาดาเธอฯ จึงทรงให้สร้างโรงเรียนนิภาคารสอนตามหลักสูตรการศึกษาสมัยนั้น รวมทั้งอบรมมารยาทและการฝีมือด้วยดำเนินกิจการไปโดยปริยาย
     พ.ศ. 2480  ในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ดำริที่จะให้เป็นที่พักอาศัยของนายกรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่คณะรัฐมนตรีลงมติให้ใช้สถานที่นี้ให้เป็นประโยชน์ทางการศึกษา ของรัฐกระทรวงธรรมการจึงได้จัดตั้งให้เป็นสถานศึกษาสำหรับกุลสตรี ชื่อโรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2480 ตั้งแต่วันนั้นจนถึงปัจจุบัน สวนสุนันทาพัฒนาด้านการศึกษาต่อเนื่องมีสาระสำคัญ สรุปได้โดยลำดับดังนี้
     พ.ศ. 2480   เริ่มจัดการศึกษา 2 แผน คือ แผนกสามัญและแผนกวิสามัญ แผนกสามัญ เปิดสอนตั้งแต่ ชั้นประถมปีที่ 1 ถึงมัธยมปีที่ 6 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 7-8 นั้น รับโอนจากโรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ โรงเรียนเบญจมราชาลัย โรงเรียนสตรีวิทยา และโรงเรียนสตรีโชตเวช แผนกเลขานุการสำหรับนักเรียนประถมที่ 1 เท่านั้นที่จัดเป็นสหศึกษา ส่วนแผนกวิสามัญรับโอนนักเรียน ฝึกหัดครูประถมหญิง จากโรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์และรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมปีที่ 8 มาศึกษาหลักสูตรประโยคครูประถม (ป.ป.)1 ปี มีทั้งประเภทนักเรียนนอกบำรุง คือ ผู้เรียนโดยทุนส่วนตัวและนักเรียนในบำรุง คือผู้สอบได้ทุนกระทรวงธรรมการ
     พ.ศ. 2481   งดสอนชั้นมัธยมปีที่ 8 และแบ่งการเรียน การสอนเป็น 3 แผนกคือ แผนกประถมศึกษา แผนกมัธยมศึกษาและแผนกฝึกหัดครู พ.ศ. 2482 แผนกมัธยมศึกษาเหลือเพียงชั้นมัธยมปีที่ 1-6 ส่วนแผนกฝึกหัดครูเปิดสอนหลักสูตร ประโยคครูประถม (ป.ป.) 1 ปี รับจากผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 6 ให้มาเรียนแบบอยู่ประจำทั้งประเภทในบำรุงและนอกบำรุง
     พ.ศ. 2483   แผนกประถมศึกษาเปิดสอนชั้นเตรียมประถมแต่ปีต่อมาก็ยุบไปเปิดสอนที่โรงเรียนละอออุทิศ
     พ.ศ. 2486   ขยายการรับนักเรียนในบำรุงจากต่างจังหวัดทุกจังหวัด โดยจังหวัดเป็นผู้สอนคัดเลือก นักเรียนส่งเข้ามาเรียนอยู่ประจำ จังหวัดละ 2 คน
     พ.ศ. 2490   รับเฉพาะนักเรียนในบำรุง มีทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
     พ.ศ. 2491   รับโอนนักเรียนประถมจากโรงเรียนละอออุทิศมาไว้
     พ.ศ. 2495   เปิดสอนหลักสูตรประโยคครูประถม แผนกการงานสันทัด เช่น งานประดิษฐ์ งามไม้ งานพิมพ์ งานไฟฟ้า งานเสื้อผ้า ฯลฯ
     พ.ศ. 2496   เปิดสอนหลักสูตรประโยคครูมัธยม (ป.ม.) 2 ปี แผนกการงานสันทัดรับจากผู้จบ ป.ป. การงานสันทัด
     พ.ศ. 2498   เลิกหลักสูตร ป.ป. และ ป.ม. การงานสันทัดและเปิดสอนฝึกหัดครู หลักสูตรประกาศนียบัตร วิชาการศึกษา (ป.กศ.) 2 ปี รับจากผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 6 เริ่มจากคิดคะแนนแบบหน่วยกิตแทนแบบร้อยละ
     พ.ศ. 2501   เปิดสอนฝึกหัดครูหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ. ชั้นสูง ) รับจากผู้สำเร็จการศึกษา ป.กศ. และกระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้ยกฐานะโรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย เป็นวิทยาลัยครูสวนสุนันทา จัดการเรียนการสอน เป็น 3 ฝ่ายคือ ฝ่ายอุดมศึกษา ฝ่ายมัธยมศึกษาและฝ่ายประถมสาธิต
     พ.ศ. 2511   เปิดสอนภาคนอกเวลาหลักสูตร ป.กศ. ด้วยในปีต่อมา
     พ.ศ. 2519   สอนระดับปริญญาตรีหลักสูตร 2 ปี โดยใช้หลักสูตรของกรมการฝึกหัดครู 
     พ.ศ. 2520   งดรับนักศึกษาภาคนอกเวลา 
     พ.ศ. 2521   เปิดรับนักเรียนระดับปริญญาตรี 2 ปี ตาม โครงการอบรมครูและบุคลากร การศึกษาประจำการ (อ.ค.ป.)
     พ.ศ. 2523   เปิดสอนระดับปริญญาตรี 4 ปี โดยรับจากนักเรียนที่สำเร็จชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ก่อน พ.ศ. 2523 ) หรือมัธยมปีที่ 6 
     พ.ศ. 2527   มีพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู ฉบับที่ 2 กำหนดให้วิทยาลัยครูเปิดสอนได้ 3 สาขา คือ สาขาวิชาการศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์ สาขาศิลปศาสตร์ทั้งระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี 4 ปี และปริญญาตรีหลังอนุปริญญา วิทยาลัยครูสวนสุนันทายังเปิดสอนระดับอนุปริญญาวิทยาศาสตร์ 8 วิชาเอกและอนุปริญญาศิลปศาสตร์ 4 วิชาเอก
     พ.ศ. 2528   เลิกโครงการ อ.ค.ป. เปลี่ยนเป็นโครงการอบรมการศึกษาบุคลากรประจำ (กศ.บป.) สอนทั้งระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี สาขาวิชาการศึกษาและสาขาวิชาการอื่นในกรุงเทพมหานครเป็นสหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ 
     พ.ศ. 2530   สภาการฝึกหัดครูได้พัฒนาหลักสูตรทุกระดับและทุกสาขาวิชา วิทยาลัยจึงเปิดสอนหลักสูตรใหม่นี้ 

     พ.ศ. 2500   เปิดสอนฝึกหัดครูหลักสูตร ป.กศ. รอบบ่ายเพื่อแก้ไขปัญหานักเรียน ที่สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 แล้วไม่มีที่เรียน รับนักเรียนฝึกหัดครูชายเป็นครั้งแรกและเริ่มมีนักเรียน ทั้งประเภทอยู่ประจำและประเภทเดินเรียน เนื่องจากไม่มีหอนอนเพียงพอ
     พ.ศ. 2510    เปิดสอนฝึกหัดครูหลักสูตร ป.ป. แบบเร่งรัดรับนักเรียนที่สำเร็จชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 หรือเทียบเท่ามาเรียน 1 ปี 
     พ.ศ. 2517   เปิดสอนระดับปริญญาตรี 2 ปี โดยใช้หลักสูตรของวิทยาลัย วิชาการศึกษา 
     พ.ศ. 2518   กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้วิทยาลัยครู สวนสุนันทาเป็นสถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษาตาม พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู แบ่งสายงานการปฏิบัติราชการออกเป็น - สำนักงานอธิการ - คณะวิชา - ภาควิชาและยังคงมีโรงเรียนประถมสาธิต และมัธยมสาธิตเช่นเดิม 
     พ.ศ. 2525   รับนักศึกษา ป.กศ. ชั้นสูง ภาคต่อเนื่องและภาคสมทบ (แทนภาคนอกเวลาเดิม) 
     พ.ศ. 2526   เปิดสอนหลักสูตรเทคนิคอาชีพระดับ ป.กศ. ชั้นสูง 2 ปี รับจากผู้สำเร็จ มัธยมปีที่ 6 หรือเทียบเท่า 
     พ.ศ. 2529   เปิดสอนระดับ ปริญญาตรีหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปีและปริญญาตรีหลัง อนุปริญญา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และสาขาวิชาศิลปศาสตร์เพิ่มเติมจาก สาขาวิชาการศึกษาที่มีอยู่เดิม 
     พ.ศ. 2535   สภาการฝึกหัดครูอนุมัติโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจและโปรแกรม วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร วิทยาลัยจึงเปิดรับนักศึกษาในโปรแกรมดังกล่าว 
     พ.ศ. 2538  จนถึงปัจจุบันวิทยาลัยครูได้เปลี่ยนเป็นสถาบันราชภัฏ โดยได้ตราเป็น พระราชบัญญัติซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในวันที่ 19 มกราคม 2538

ลัสูที่ปิ


วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี















ทำนีผู้ริ
รศ.ดร.ฤๅเดช เกิดวิชัย
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันท
                    
รศ.พิเศษ ดร.วิเชียร ศรีพระจันทร์                   อาจารย์.ดร.สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์
  รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร                          รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
                     
     รศ.ธีระดา ภิญโญ                                   ผศ.ดร. ไพบูลย์ แจ่มพงษ์
      รองอธิการบดีฝ่ายแผนงาน                      รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
                                                                และประกันคุณภาพ
                     

อาจารย์.ดร.วิทยา เมฆขำ                                รศ.พิศณุ พูนเพชรพันธุ์
      รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนา 
           รองอธิการบดีฝ่ายกิจการสภามหาวิทยาลัย

น่นันุอื่






ข้อมูลจาก: http://www.ssru.ac.th/